Thursday, 18 April 2024

เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ

07 Feb 2023
234

เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ

เคยไหม? ชอบหลงๆลืมๆวางข้าวของไว้ตรงไหน เคยไหม?ท่องหนังสือทั้งคืน แต่พอเช้ามากลับจําไม่ได้ และเคยไหม?ได้ทําความรู้จักกับใครบางคนแต่ดันลืมชื่อเขาซะงั้น หากใครที่มักเป็นแบบนี้ ในตอนนี้เราจะมาแบ่งปันหลักการจํา 4 ข้อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความจํา ที่เข้าใจง่าย เรียบง่าย และทําได้จริง หลักการจําง่ายๆจากหนังสือ เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ โดย คะบะซะวะ ชิอง จากสํานักพิมพ์ WeLearn โดยหลักการจํา 4 ข้อ ที่คุณหมอเขาอยากจะบอกมีดังนี้

4 เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ

1. ทำความเข้าใจภาพรวม

อยากจําอะไรได้ต้องเริ่มที่การทําความเข้าใจภาพรวม เพราะหากเราเน้นแต่อยากจะท่องจําอย่างเดียวแต่ขาดการทําความเข้าใจมันก็ยากที่เราจะจําได้ในระยะยาวและส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ที่ดีด้วย คนเราโดยทั่วไปอยากจะจําอะไรแต่ก็มักข้ามขั้นตอนนี้ไป หากเราอยากจําเรื่องอะไรก็ตามการทําความเข้าใจกับมันก่อนเป็นสิ่งที่สําคัญมากๆ มันจะทําให้เราจําได้ดีและง่ายกว่าการที่เราเอาแต่ท่องอย่างเดียว

ให้เราหันมาเรียนรู้ที่มาที่ไปของเรื่องๆนั้นก่อน เรื่องนั้นเกี่ยวกับอะไร ทําไมมันถึงเกิดขึ้น มันเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง เช่น เขาเป็นใคร มาจากไหน การที่เราทําความเข้าใจแบบนี้มันคือการมองภาพใหญ่มองภาพรวมของเรื่องๆนั้นก่อนที่เราจะเจาะลงไปในรายละเอียดปลีกย่อยนั่นเอง

เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ

ตัวอย่างเช่น เวลาอ่านหนังสือเรื่องหนึ่งให้เราเริ่มที่การมองภาพรวม โดยการดู สารบัญ ก่อน มองโครงสร้างของเนื้อหากันก่อน ดูการบรรยายเรื่องย่อ คํานําหรือบทนําก่อน อาจจะรวมไปถึงการศึกษาประวัติของผู้เขียนคนนี้ว่า เขาเป็นใคร มาจากไหน ทําไมเขาถึงเขียนเรื่องนี้ เขาทําอาชีพอะไร

การมองภาพรวมแบบนี้จะทําให้สมองของเรานั้นเกิดความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้นแต่มันจะทําให้เราสามารถเข้าใจรายละเอียดเนื้อหาปลีกย่อยได้มากขึ้นเช่นกัน การทําความเข้าใจภาพรวมจะทําให้การจําเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นและมันยังทําให้สมองได้เชื่อมโยงกับความรู้ความจําเดิมๆที่เรามีอยู่แล้วนั่นเอง

เพราะฉะนั้นแทนที่จะท่องจำอย่างเดียวลองหันมาทําความเข้าใจ รู้ที่มาที่ไป รู้เหตุผล รู้เรื่องราวของสิ่งๆนั้น มองที่ภาพใหญ่ ภาพรวม ก่อนที่จะลงรายละเอียดปลีกย่อย

การจัดระเบียบความคิด

2. การจัดระเบียบความคิด

เพราะสมองของเราไม่ชอบอะไรที่วุ่นวายยุ่งยากน่าปวดหัว ยิ่งข้อมูลมึนกระจัดกระจาย ข้อมูลมันพันกันมั่วไปหมด สมองก็ สมองก็จะตีความไปว่าสิ่งเหล่านั้นเราไม่ได้ให้ความสําคัญและก็จะลืมมันไป หากอยากจะจําได้ดีขึ้นลองเอาสิ่งที่เรารับเข้ามาในหัวมาจัดระเบียบความคิดให้ดีกันก่อน การจัดระเบียบความคิดจะทําให้เราสามารถดึงข้อมูลต่างๆออกมาใช้งานได้ง่ายขึ้น เวลาที่เราต้องการหรืออยากจะนึกถึงมัน

สําหรับการจัดระเบียบความคิดในเล่มนี้ผู้เขียนเน้นไปที่การใช้มือของเราใช้มือเพื่อเขียน เน้นเขียนไว้ก่อน เพราะน้ําหมึกที่เจือจางยังดีกว่าความจําที่เลือนรางเพราะในความเห็นของผู้เขียนเขาบอกว่า การเขียนคือการจัดระเบียบความคิดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่าได้ดูถูกพลังของการเขียนเป็นอันขาด

ซึ่งมีงานวิจัยในเรื่องของการจัดระเบียบความคิดที่บอกกับเราว่า ถ้าเราขยันที่จะจัดระเบียบความคิดเป็นประจํา เราจะสามารถพัฒนาความจําได้ดีถึง 40% กันเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ค่อยได้จัดระเบียบความคิด โดยวิธีการจัดระเบียบความคิดในแบบที่ได้ผลดีนั้นให้เรายึด 3 หลักสําคัญได้แก่ 1.ต้องง่าย 2.ต้องสะดวก และ 3.ต้องเป็นระเบียบ จัดระเบียบความคิดเอาที่เราเข้าถึงง่ายสะดวกดูเป็นระเบียบไม่วุ่นวายและหากเราเป็นมือใหม่เริ่มจากการเขียนสั้นๆเล็กๆน้อยๆก่อนก็ได้ ค่อยๆสร้างนิสัยกันไป

การจําแบบไม่ต้องท่องจํา

3. การจําแบบไม่ต้องท่องจํา

วิธีการของหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เน้นการท่องจําแบบนกแก้วนกขุนทองแต่เขาให้เราเน้นไปที่วิธีการส่งออกหรือ out put เช่น การเขียนบทความการสอนคนอื่น การเล่าให้คนอื่นได้ฟัง หลักสําคัญก็คืออยากจําอะไรได้ดี เอามันออกมาใช้งานบ่อยๆพอเราได้คุ้นเคยกับมันใช้มันบ่อยๆเราไม่จําเป็นต้องท่องจําเลย เพราะเราจะจําได้เองนึกออกได้เองและสมองของเราจะรู้ว่าสิ่งที่เราเอามันออกมาใช้ประโยชน์บ่อยๆทําบ่อยๆมันเป็นเรื่องสําคัญแล้วก็จะเก็บเรื่องราวเหล่านั้นให้อยู่ในความทรงจําระยะยาว โดยในเรื่องของการจําแบบไม่ต้องท่องจํา เราควรคํานึงถึง 3 เรื่องสําคัญ ดังนี้

  1. ทําให้การจําเป็นเรื่องสนุก เพราะสมองไม่ชอบความน่าเบื่อ ลองให้มันมีลูกเล่นน่าสนใจทําให้เราอยากจะทํามันก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจําของเราให้ดีขึ้นและในการจําข้อมูลเยอะเยอะ ผู้เขียนให้เราแบ่งซอยย่อยข้อมูลออกเป็นส่วนๆจําทีละเล็กทีละน้อย อย่าไปหักโหมจําในคราวเดียว เพราะแต่ละครั้งสมองของเราจําอะไรได้จํากัดจํานวน การแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนที่ย่อยแล้วค่อยทําความเข้าใจไปทีละส่วนจําทีละอย่างจะได้ผลที่ดีกว่าการจําอะไรเยอะในครั้งเดียว
  2. จดไว้ก่อน กันลืม… เพราะในแต่ละวันมักมีเรื่องต่างๆมากวนความคิดของเราเสมอ ทําให้เราอาจจะลืมเรื่องสําคัญหรือดีๆไปได้ ผู้เขียนแนะว่าจะให้ดีที่สุด อยากให้จําได้ดีต้องเขียนด้วยมือจดบนกระดาษเพราะมันสะดวก ง่าย เร็วที่สุด โดยเราอาจจะพกสมุดเล็กๆไว้ในกระเป๋าพร้อมปากกาหนึ่งด้ามทีนี้เราก็จะไม่พลาดที่จะจดเรื่องที่อยากจําได้ง่ายๆเพราะการจดบันทึกเป็นนิสัยของคนที่ประสบความสําเร็จด้วยนะ
  3. ต้องนอนให้เพียงพอ เพราะการนอนที่เพียงพอจะช่วยให้สมองได้จัดระเบียบได้ดีขึ้น โดยเฉพาะวัยเรียน อย่าหามรุ่งหามค่ำถ้าร่างกายไม่ไหว อย่าฝืน ยิ่งฝืน ยิ่งทําให้การเรียนรู้ และความจําของเรานั้นแย่ลงได้

การทบทวน

4. การทบทวน

การทบทวนก็เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการส่งออกข้อมูลที่ดีที่จะช่วยให้เรานั้นจําได้ หากอยากจะจําอะไรได้ดีต้องทบทวนบ่อยๆ ทบทวนซ้ําๆ ทบทวนในสไตล์ที่เหมาะสมกับเรา และต้องให้มันมีระยะเวลาที่เหมาะสมพอดีด้วย ซึ่งการจําที่ดีในระยะยาวนั้นให้เราทบทวนอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยให้เว้นระยะห่าง 1 3 7 คือให้เราทบทวนหลังจากการเรียนรู้ในวันแรกและทบทวนในวันถัดไปอีก 3 วัน แล้วก็ทําอีกเมื่อครบ 7 วัน

แต่บางทีเราอาจจะไม่ได้ทําตรงเป๊ะก็ได้แค่อย่าลืมทบทวนเป็นประจํา อย่าปล่อยไว้นานเกินไปหรือไม่เอามาทบทวนเลย อย่างน้อยหลังจากการเรียนรู้เรื่องใดๆแล้วเอามาทบทวนในครั้งแรกไม่ควรเกิน 3 วัน แต่การทบทวนในที่นี้ไม่ใช่แค่การอ่านทบทวนในใจเงียบๆเท่านั้น

การทบทวนที่มีประสิทธิภาพให้เราทบทวนไปด้วยเขียน สรุปแบบญี่ปุ่น พูดออกเสียงไปด้วยก็ยิ่งดี เพราะเป็นการใช้ประสาทสัมผัสที่หลากหลาย มือได้ขยับ ปากออกเสียง หูได้ฟัง ตาก็ได้มอง แบบนี้จะทําให้เรามีสมาธิมากขึ้นด้วย

การทําความเข้าใจภาพรวม การจัดระเบียบความคิดให้ง่ายๆเป็นระเบียบ การจําที่เน้นการส่งออกโดยไม่ต้องท่องจําและการทบทวนอย่างสม่ำเสมอคือ 4 หัวใจหลักของเทคนิคการจําแบบไม่ต้องท่องจําที่จิตแพทย์อยากจะบอกเรา ลองนําไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กันนะ

สนับสนุนโดย :: betflik789