Thursday, 18 April 2024

5 ปรัชญามุซาชิ เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น

05 Mar 2023
305

ปรัชญามุซาชิ

ถ้ากล่าวถึงซามูไรที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกคงหนีไม่พ้น มิยาโมโตะ มุซาชิ เป็นโรนินหรือที่เรียกว่าซามูไรพเนจรที่ไม่ได้สังกัดราชการใด จึงแทบไม่ได้มีผลงานที่เป็นหลักฐานชัดเจนแต่ เหตุใดเขาถึงได้ชื่อว่าเป็นซามูไรที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก วันนี้เราจะได้มาเรียนรู้เรื่องของ ปรัชญามุซาชิ กัน

มิยาโมโตะ มุซาชิ ได้รับการกล่าวขานในเรื่องของการใช้ดาบสองมือและชื่อเสียงการต่อสู้โดยไม่แพ้ใครเลยตลอด 61 ครั้ง โดยในครั้งที่โด่งดังที่สุดคือการดวลดาบแลกชีวิตกับ ซาซากิ โคจิโร่ ที่เกาะฟูเนนจิมา มุซาชิกับโคจิโร่นัดประลองกันไว้วันที่ 13 เมษายนปี 1612 แต่พอถึงวันนัดมุซาชิกลับมาสายไปถึง 2 ชั่วโมง

มุซาชิ

โดยในการประลองครั้งนั้นมุซาชิไม่ได้ใช้ดาบคู่เหมือนอย่างเคย แต่กลับใช้ไม้พายที่พายเรือมาที่เกาะนี้ต่อสู้ จึงทำให้โคจิโร่รู้สึกโดนดูถูกดูหมิ่น ซึ่งทั้งหมดเป็นกลอุบายที่ทำให้โคจิโร่เกิดความโมโหและประมาทในการประลองจนต้องพ่ายแพ้ไป เมื่อการประลองจบลง มุซาชิได้โค้งคำนับให้ร่างของโคจิโร่ที่นอนแน่นิ่งและพายเรือจากเกาะนี้ไป

โดยในช่วงบั้นปลายของชีวิตมุซาชิได้ผันตัวมาเป็นครูศึกษาปรัชญาและจิตใจโดยใช้เวลาหลายปีในการคิดค้นว่าเหตุใดเขาถึงชนะได้ในการดวลทุกครั้งจนได้ออกมาเป็นคัมภีร์ห้าห่วงหรือ โกะรินโนะโฉะ นอกจากคัมภีร์ห้าห่วงแล้ว ก็ยังมีคัมภีร์ 35 กลยุทธ์และ 12 กลยุทธ์กระจกแห่งวิถี ที่ได้เขียนออกมาในภายหลัง

ที่มาของคัมภีร์ห้าห่วง ปรัชญามุซาชิ

ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่มาของคัมภีร์ห้าห่วงและคำสั่งเสียต่อลูกศิษย์ของเขาที่ชื่อว่า หลักเด็ดเดี่ยวแม้โดดเดี่ยว ก็ยังเป็นที่กล่าวขานในแวดวงธุรกิจและปรัชญา สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตได้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในวันนี้เรา storymaker จะขอเล่าถึงเนื้อหาของคัมภีร์ห้าห่วงก่อน ให้เพื่อนๆได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้กัน

คัมภีร์ดิน

1. ดิน หลักพื้นฐานที่มั่นคง การฝึกฝนให้แข็งแกร่ง และการรู้จักตนเอง

ในคัมภีร์ดินนี้มุซาชิพูดถึงการเรียนรู้เข้าใจพื้นฐานของเพลงดาบถ้าเปรียบเทียบกับการทำธุรกิจในยุคปัจจุบันก็คือการเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็ง ของตนเอง รู้ว่าเรามีอะไร เหมือนหัวหน้าช่างไม้ต้องมอบหมายงานให้บางคนทำ คือบางคนทำฉาก บางคนทำธรณีประตู

มุซาชิกล่าวไว้ว่าแม้แต่ไม้ที่มีเนื้ออ่อนคดงอก็ยังสามารถนำไปใช้ทำเชื้อเพลิงได้ เลือกใช้คนได้อย่างเหมาะสมก็สามารถใส่ความมั่นใจลงไปได้ในงานทีละน้อย เมื่อหัวหน้ามอบหมายงานอย่างสุขุมตระหนักถึงความสามารถและข้อจำกัดอย่างมีเหตุผล งานก็ก้าวหน้าได้อย่างราบรื่น

การรู้จักจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเองก็ต้องหมั่นฝึกฝน ดังที่มุชิได้กล่าวว่าผู้ที่จะเชี่ยวชาญในการรำดาบต้องใช้เวลาที่ยาวนานและการฝึกฝนสม่ำเสมอไม่มีที่สิ้นสุด

น้ำ

2. น้ำ แปรเปลี่ยนและยืดหยุ่นไปตามภาชนะและใสบริสุทธิ์

เขาได้กล่าวไว้ในการเรียนรู้เพลงดาบแบบพิเศษ เพื่อไว้ใช้ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ต่างๆ โดยหลักการนี้เปรียบได้กับการบริหารแบบยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้ มีความสามารถในการรองรับความแปรปรวนที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา

เหมือนต้นอ้อที่ลู่ลมจะไม่เปราะหักเช่นต้นไม้ใหญ่ เปรียบได้กับการรู้จักปรับตัว เมื่อหากได้ล้มก็เรียนรู้ที่จะลุกให้ไว ผู้ที่จะอยู่รอดได้นานที่สุดคือผู้ที่ปรับตัวได้ดีที่สุด ดังที่เขากล่าวไว้ว่าจงเป็นน้ำที่ปรับรูปร่างและอัตลักษณ์ไปอย่าเป็นดั่งหินแข็งที่ไม่สามารถเคลื่อนที่หรือปรับรูปทรงได้

ไฟ

3. ไฟ เป็นได้ทั้งไฟกองใหญ่หรือกองเล็ก

ตระหนักถึงภาพรวมทั้งหมดเช่นเดียวกับการใส่ใจรายละเอียดทีละเล็กทีละน้อย เหมือนการประเมินสถานการณ์เพื่อหาจังหวะที่เหมาะสม อ่านสถานการณ์ ชิงความได้เปรียบและคว้าชัยชนะ เปรียบกับการทำธุรกิจและใช้ชีวิตโดยมีเป้าหมาย มีแบบแผน รู้เวลาที่จะเอาชนะได้อย่างรวดเร็วและชิงลงมือ

เป็นเรื่องของการจัดลำดับความสำคัญให้กับแบบแผน รู้เจตนาของคู่ต่อสู้ ในขณะที่ผู้คนคับข้องใจ ถ้าเรามีความกล้าหาญและมีไฟแห่งฝันจะเหนี่ยวนำผู้อื่นได้เหมือนกับไฟดวงเล็กที่สามารถลามจนเป็นไฟกองใหญ่ได้ เขากล่าวเปรียบเปรยเอาไว้ว่า จงสู้เมื่อรู้ว่าจะชนะคนเพียงคนเดียวก็สามารถที่จะเอาชนะคน 10 คนได้

ลม

4. ลม

ในภาษาจีนตัวอักษรลมมีอีกความหมายหนึ่งแปลว่ารูปแบบได้เช่นกัน เปรียบได้กับการรู้จักตนเอง รู้จักคู่แข่ง หากไม่รู้จักเรื่องของคนอื่นเราก็ไม่สามารถรู้จักตนเองได้อย่างถ่องแท้ อ่านสถานการณ์ให้ออกและปรับกลยุทธ์เพื่อตอบโต้ รู้เวลาว่าเมื่อไรควรแข็งขันและเมื่อไหร่ควรจับมือสร้างพันธมิตร มีความเมตตาปราณี ให้อภัย

เขากล่าวไว้ว่าเพราะทุกวิชาและทุกวิถีย่อมมีเส้นทางที่ผิด แต่ละคนนั้นต่างมีเส้นทางที่คิดว่าถูก คิดว่าควรของตัวเอง หากหลงคิดว่าตัวเองถูกเสมอก็ทำให้เราเห็นผิดได้ เพราะฉะนั้นจะต้องมองให้เห็นอย่างถ่องแท้ว่า สิ่งใดกันแน่ที่ถูกต้อง พูดง่ายๆก็คือรู้เขารู้เรานั่นเอง

ความว่างเปล่าหรือสุญญากาศ

5. ความว่างเปล่าหรือสุญญากาศ

มุซาชิพูดถึงการเป็นอิสระจากกลยุทธ์ รู้สึกได้ถึงสิ่งที่ตาไม่สามารถมองเห็น เปรียบได้กับการคิดนอกกรอบ เพื่อสร้างโอกาสให้ตัวเอง รู้ว่าตัวเองกำลังยึดติดกรอบเดิมหรือไม่ ซึ่งเหมือนกับการใช้ชีวิตโดยเริ่มกลับมาเปิดใจรับฟังความคิดเห็น ระดมความคิดให้เห็นภาพใหญ่ เพื่อที่จะได้สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้นั่นเอง ดังที่เขากล่าวไว้ว่าการที่รับรู้ว่าสิ่งไหนอยู่ใกล้ตัวก็จะทำให้รับรู้ว่าสิ่งไหนอยู่ไกลตัว

จบกันไปแล้วกับคัมภีร์ 5 ห่วง ปรัชญาของมุซาชิ สามารถเอาไปใช้ในการดำเนินชีวิต ฝึกฝนทักษะที่ต้องการ และการบริหารธุรกิจองค์กรได้อีกด้วย ไม่ว่าจะวัยไหน การเรียนรู้และปรับตัวก็เป็นสิ่งจำเป็นอยู่เสมอ

สนับสนุนโดย :: pgslot888th