ว่าด้วยเรื่องของ เทคนิคการจํา ที่เราสามารถเอามาใช้กับการเรียนรู้ได้ทุกรูปแบบ เวลาที่เราเรียนรู้เรื่องอะไรก็ตาม บางทีแป๊บๆก็ลืมซะงั้น ทําให้หงุดหงิดเสียอารมณ์จริงๆ ซึ่งบางครั้งการที่เราพยายามจะจําอะไร มันก็กลายเป็นตัวที่ทําให้เราลืมได้ง่ายๆสะงั้นเพราะอาจจะเป็นว่าเรามุ่งเน้นเอาแต่จะจําอย่างเดียว เราไม่ได้ทําความเข้าใจ เราไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์เราไม่ได้ทบทวนบ่อยๆไม่ได้ใส่ใจมัน วันนี้เรา storymaker ได้นําเอาบทความที่มีชื่อว่า 4 เทคนิคการจําสําหรับทุกเรื่องที่เรียนรู้ โดยแต่ละเทคนิคจะมีความเรียบง่ายและสามารถย้ําเตือนพฤติกรรมการเรียนรู้ ในชีวิตประจําวันของเราได้
วิธีฝึก เทคนิคการจำ
1. การสร้างนิสัยทบทวนซ้ําๆ
เทคนิคนี้เป็นเทคนิคและวิธีการที่คลาสสิกและเรียบง่าย แต่เรามักจะขี้เกียจทํากันใช่ไหม? ทบทวน ทบทวนและก็ทบทวน ผู้เขียนได้หยิบยกวิธีการจากหนังสือ made it stick ที่บอกว่า ทักษะ เรียนรู้ของคนเรา มันเหมือนกับการยกน้ําหนักยกเวท โดยการยกน้ําหนักไปทุกๆวัน ในแต่ละวันเราก็ค่อยๆเพิ่มน้ําหนักเข้าไป เพิ่มไปทีละนิด ทีละนิด เราก็จะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับระบบการจัดการความคิดและการเรียนรู้ของคนเรา เมื่อเราเรียนรู้ว่าสิ่งไหนมันยากมากๆหรือสําคัญมากๆ สมองก็จะทําการจดจําและเก็บข้อมูลนั้นไว้ อย่างแม่นยําเป็นพิเศษแต่ก็จะค่อยๆเลอะเลือนไป เมื่อเราไม่ได้นํามาใช้งาน
ดังนั้นวิธีการที่จะทําให้เราจดจําข้อมูลที่สําคัญได้ดีก็คือ สร้างนิสัยการทบทวนอยู่เสมอ การทบทวนนี้ไม่จําเป็นต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่งหลักการสร้างนิสัย ก็คือทําให้มันง่ายๆไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาในแต่ละวันสั้นๆก็ได้ เช่นอย่างการทบทวนเวลาเราเดินไปเราก็คิดถึงมัน นั่งก็คิดถึงมัน กินก็อาจจะคิดถึงมันก็ได้ ถ้าหากเราจําไม่ได้ก็ไม่ต้องไปซีเรียส จําไม่ได้ก็กลับไปดูใหม่ เปิดดูใหม่ อย่าไปซีเรียสว่าจะต้องจําได้ทุกๆอย่าง จําได้แบบเป๊ะๆในครั้งเดียว ซึ่งสมองของคนเราจะจําได้ดีขึ้น หากเราไม่ไปกดดันให้มันจํา เมื่อเราทบทวนบ่อยๆสมองจะทําการสั่งการว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลพิเศษ ทําให้เรานั้นจดจําได้อย่างแม่นยํานั่นเอง
2. อย่าทะนงตัว ว่าตัวเองจําได้แล้ว
เมื่อเราได้ทําการรับข้อมูลหรือทําอะไรบางอย่างมา เราจะรู้สึกว่าสิ่งนั้นมันง่ายแล้ว ครั้งต่อๆไปเราก็ชอบประมาทว่ามันไม่เห็นจะมีอะไรเลย เจ้าความคิดที่ว่านี่ที่เราจําได้แล้ว เราเก่งแล้ว เราสบายแล้ว จะสร้างปัญหาให้กับระบบความคิดของเรา มีงานวิจัยบอกว่าสมมุติว่าเราอยู่ ณ สนามบินแห่งหนึ่งและเราต้องการจะดูไฟลท์เครื่องบิน ที่เรากําลังจะขึ้นว่ามันจะต้องขึ้นประตูไหน เราก็ทําการแหงนมองหน้าจอมอนิเตอร์ เมื่อจอมอนิเตอร์บอกแล้วว่าประตูที่B44 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สั้นมาก เราก็จะรู้สึกว่า อ้อ B44 จําได้ จําได้ ก็ทําให้เราประมาทชะล่าใจ ไม่ทวน ไม่จด ไม่ได้ใส่ใจ ผลปรากฏก็คือเมื่อเราเดินออกมาจากจุดนั้น แล้วก็เอาโทรศัพท์มือ ขึ้นมาดูเฟซบุ๊ก ไอจี ดู TikTok สิ่งเร้าก็เต็มไปหมด พอถึงเวลาเราต้องขึ้นเครื่องประตูไหนนะ เนี่ย? อ้าว! ลืมซะงั้น ทําให้เสียเวลากลับไปดูอีกรอบ
หากเป็นเรื่องเล็กน้อยมันก็ไม่ค่อยเป็นอะไร แต่ถ้าหากเป็นเรื่องสําคัญๆอาจจะสร้างปัญหาให้กับเราได้ วิธีที่แนะนําก็คือ เมื่อเราได้รับข้อมูลอะไรบางอย่างมาแล้ว อย่างเช่นเวลาทํางาน เจ้านายอยู่ๆก็เรียกเราไปสั่งงานด่วนมากๆ สั่งมาเป็นชุดเป็นชุด แล้วเจ้านายก็เดินจากไป ดังนั้นเมื่อได้ข้อมูลอะไรมาให้ลองทบทวนถามตัวเองถึงข้อมูลเหล่านั้นในใจดูอีกครั้งคว่าเราจํามันได้หรือไม่? หรือทวนคําพูด ทวนคําสั่งของคนที่เขาสั่งเรามา หรือเมื่อได้รับคําสั่งหรือข้อมูลอะไรก็ตามให้เราจดไว้จะง่ายที่สุด เพราะการจดไว้เป็นการจัดระเบียบความคิดของเรา
ดังนั้นเวลาที่เราได้ข้อมูลอะไรมาก็ตาม อย่าประมาทว่าเราจําได้ เราเก่งแล้ว เราไม่ต้องดูแล้ว ก็จําได้ อย่าประมาทเด็ดขาด ให้ดูให้แน่ใจว่าเรามีวิธีจัดการกับข้อมูลนั้นอย่างไร? เราจําได้หรือเปล่า? มันเหมือนกับการเรียนรู้อะไรก็ตามให้เรานั้นจัดแจงความรู้ที่เรียนมา ที่เราฟังมา จัดให้มันเป็นระเบียบ ให้มันค้นหาง่าย บันทึกเอาไว้ในแบบที่เหมาะสมกับเรา หากเราจัดข้อมูลต่างๆไว้อย่างเป็นระเบียบก็จะเป็นการลดภาระการทํางานของสมองด้วย
3. นําความรู้ไปเชื่อมโยงกัน
เมื่อเราสามารถที่จะอธิบายความรู้ที่เราได้รับมาให้สามารถไปเชื่อมโยงกับความรู้เก่าๆได้ ยิ่งเราอธิบายให้เห็นภาพหรือเชื่อมโยงกันมากเท่าไร เรายิ่งจะจําได้มากขึ้น การคิดแบบเชื่อมโยงจะขยายความรู้และความเข้าใจของเรามากยิ่งขึ้น เราจะสามารถจดจําข้อมูล จดจําสิ่งที่เรียนรู้ ได้แม่นยํามากขึ้นและนานขึ้น หนังสือ made it stick ได้กล่าวเอาไว้ว่าระบบความคิดของสมองคนเราจะสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น หากข้อมูลเหล่านั้นมีความเชื่อมโยงกัน โดยการเชื่อมโยงข้อมูลที่ว่านี้มันไม่ จำเป็นจะต้องเป็นข้อมูลแบบเดียวกันเสมอไป ขอแค่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งที่มีความเชื่อมโยงกันก็ได้
4. สิ่งที่ตัวเองทําเสมอ
หยิบยกผลการสํารวจจากฮาร์เวิร์ดบิซิเนสสคูล ที่พบว่าพนักงานที่ใช้เวลาเพียง 15 นาทีหลังเลิกงาน ในการครุ่นคิดวิเคราะห์รีวิว ทบทวนถึงงานที่ตัวเองได้ทําไป มักมีประสิทธิภาพการทํางานที่สูงกว่าคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ทําแบบนี้ถึง 22.8 เปอร์เซ็นต์ โดยศาสตราจารย์ท่านหนึ่งแห่ง Harvard Business School ได้กล่าวว่า เมื่อคนเราได้ครุ่นคิดถึงสิ่งที่ตัวเองทําลงไป จะสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับเราได้ ว่ามีสิ่งที่ทําลงไปนั้นถูกต้องหรือไม่ ดีที่สุดแล้วหรือยัง ติดขัดปัญหาหรือขัดข้องตรงไหน และเราจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง เพราะในขณะที่ทํางานหรือหากเราพยายามจําอะไรบางอย่าง เราอาจจะเร่งรีบหรือสนใจรายละเอียดมากเกินไป อาจจะทําให้มองข้ามภาพรวมหรือความสําคัญของข้อมูลบางส่วนไป การทบทวนวิเคราะห์รีวิวถึงสิ่งที่เราทําในแต่ละวันอีกครั้ง ปล่อยให้งานในหัวสมองมันเย็นลงจะทําให้เราเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังสร้างประสิทธิภาพในการทํางานครั้งต่อไปได้ดียิ่งขึ้นเหมือนกัน
การทบทวนสิ่งที่เราทํา สิ่งที่เราเคยเรียนรู้มา ทําการบันทึกเอาไว้ทุกวันด้วยคีย์เวิร์ดสําคัญแล้วก็รายละเอียดสั้นๆ ทําให้เราสามารถจดจําได้ การทําแบบนี้ก็จะช่วยให้เรานั้นมีระบบในการเรียนรู้เรื่องต่างๆและก็จะมีประสิทธิภาพในการทํางานต่างๆได้ดีขึ้น
สนับสนุนบทความดีๆโดย : baccarat77