Thursday, 18 April 2024

เมโสโปเตเมีย แหล่งกำเนิดของอารยธรรมและระเบียบสังคม

10 Apr 2023
321

เมโสโปเตเมีย

ในขณะที่อารยธรรมมนุษย์ได้พัฒนาขึ้นในหลายพื้นที่ในโลกยุคโบราณแต่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเกษตรกรรม สถาปัตยกรรม และระบบระเบียบทางสังคมก็ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในอารยธรรมเมโสโปเตเมียเมื่อหลายพันปีก่อนบนพื้นที่ตะวันออกกลางผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อย่างเคลลี่ แอนน์ ไดมอนด์  ได้กล่าวไว้ว่าเราได้เห็นเมืองครั้งแรก การเขียนครั้งแรก และเทคโนโลยีครั้งแรก มันมีต้นกำเนิดในเมโสโปเตเมีย และในวันนี้ storymaker ขอนำเสนอ เมโสโปเตเมีย แหล่งกำเนิดของอารยธรรมและระเบียบสังคม จะมีอะไรบ้าง ไปชมกันครับ

อารยธรรมและสังคมของ เมโสโปเตเมีย

1. ชื่อของเมโสโปเตเมีย

เมโสโปเตเมียเป็นคำที่มาจากภาษากรีกโบราณ หมายถึงดินแดนระหว่างแม่น้ำ นั่นก็คือการกล่าวถึงแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสซึ่งเป็นแม่น้ำ 2 แห่ง ที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายในพรมแดนของประเทศอิรักในปัจจุบัน และในส่วนอื่นของแม่น้ำก็ยังอยู่ในซีเรีย ตุรกี และอิหร่านอีกด้วย

เมโสโปเตเมีย

2. ภูมิศาสตร์เป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่ง

การมีแม่น้ำสายสำคัญโอบล้อมเอาไว้เป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่เมโสโปเตเมียจะพัฒนาสังคมและสร้างนวัตกรรมที่ซับซ้อนขึ้นได้ อย่างเช่น การเขียน การสร้างสถาปัตยกรรม และระบบข้าราชการ เนื่องจากแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรติสทำให้พื้นที่โดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสำหรับการปลูกพืชเป็นอาหาร นั่นก็ทำให้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้มนุษย์ดำรงอยู่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เป็นการปฏิวัติจากยุคหินใหม่มาสู่สิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติทางการเกษตร

นักวิชาการได้กล่าวไว้ว่าการปฏิวัติได้เปลี่ยนแปลงชีวิตมนุษย์บนโลกนี้แต่กระบวนการนี้เริ่มต้นขึ้นที่เมโสโปเตเมีย การที่ผู้คนได้ทำการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เองก็ทำให้พวกเขาสามารถอยู่ในที่เดียวโดยไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆและพวกเขาก็ได้เรียนรู้ในการสร้างหมู่บ้านถาวรขึ้นมาได้

ในที่สุดการตั้งถิ่นฐานเล็กๆเหล่านี้ก็เติบโตขึ้นเป็นเมืองในยุคแรกๆ ซึ่งมีลักษณะของความเป็นอารยธรรมเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของประชากร การสร้างสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ การสื่อสารที่เติบโต การแบ่งงานที่ชัดเจน และการเกิดขึ้นของสังคมและเศรษฐกิจที่หลากหลาย

และการเกิดขึ้นของอารยธรรมในเมโสโปเตเมียก็ได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยอื่นๆอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ซึ่งทำให้คนที่อาศัยในภูมิภาคแห่งนี้ต้องจัดระเบียบมากขึ้นเพื่อรับมือกับสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

เมโสโปเตเมีย

3. หล่อเลี้ยงอารยธรรมด้วยธรรมชาติ

Hervé Reculeau รองศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เมโสโปเตเมียโบราณ ได้อธิบายไว้ว่า อารยธรรมไม่ได้ถูกพัฒนาในลักษณะเดียวกันทั่วทั้งภูมิภาค สังคมเมืองพัฒนาได้อย่างอิสระ ทั้งในเมโสโปเตเมียตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของอารยธรรม Sumer มาก่อน และเมโสโปเตเมียตอนบนซึ่งก็คืออิรักตอนเหนือกับซีเรียฝั่งตะวันตกในปัจจุบัน

ปัจจัยหนึ่งสิ่งที่ทำให้อารยธรรมเกิดการพัฒนาขึ้นในพื้นที่ทั้งสองแห่งนี้ก็คือสภาพภูมิอากาศของเมโสโปเตเมียมีคำอธิบายว่าเมื่อ 6000-7000 ปีก่อน พื้นที่แห่งนี้จะมีความชื้นมากกว่าพื้นที่ของตะวันออกกลางที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยอธิบายอีกว่าเมืองแรกทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมียเกิดขึ้นบนริมฝั่งของบึงขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายสำหรับการก่อสร้างและการหาอาหาร

พวกเขามีแหล่งน้ำเข้าถึงง่ายต่อการทำชลประทานขนาดเล็กที่ดูแลจัดการได้ในท้องถิ่นไม่ต้องการการดูแลแบบโครงสร้างขนาดใหญ่ นอกจากนี้ Reculeau ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่าบึงแห่งนี้มีเส้นทางที่เชื่อมโยงกับเส้นทางเดินเรือในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้สามารถพัฒนาด้านการค้าทางไกลกับที่อื่นได้ในที่สุด

ในส่วนของเมโสโปเตเมียตอนบน ปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอตลอดทั้งปีซึ่งจะทำให้เกษตรกรไม่ต้องทำการชลประทานมากนักตามรายงานของ Reculeau กล่าวว่าพวกเขายังสามารถเข้าถึงภูเขาและป่าซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถออกล่าสัตว์และตัดต้นไม้เพื่อนำมาทำสิ่งปลูกสร้างได้ อีกทั้งพื้นที่ของพวกเขานั้นยังมีเส้นทางที่สามารถเดินไปยังที่ต่างๆทางตอนเหนือของภูเขาซึ่งนำพวกเขาไปหาวัสดุต่างๆ เช่น หินออบซิเดียน ซึ่งเป็นหินประเภทหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ทำเครื่องประดับหรือทำเครื่องมือสำคัญได้อีกด้วย

เมโสโปเตเมีย

4. การปฏิวัติสิ่งเก่าสู่การพัฒนารอบด้าน

พิพิธภัณฑ์บริติชมิวเซียม ระบุว่าพืชผลหลักของชาวนาในเมโสโปเตเมียยุคแรกนั้นก็คือข้าวบาร์เลย์และข้าวสาลี อีกทั้งพวกเขายังทำการสร้างสวนในร่ม ด้วยการใช้ใบที่ปกคลุมจากต้นอินทผาลัมที่ปลูกไว้ ทำให้พวกเขาทำการปลูกพืชผลได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นถั่วลิสง ถั่วลันเตา ถั่วเลนทิล แตงกวา ผักกาด และกระเทียม ในขณะเดียวกันก็ยังปลูกต้นไม้อย่างเช่น องุ่น แอปเปิล เมล่อน และมะเดื่อ นอกจากนี้พวกเขายังรีดนมแกะ แพะ และวัว เพื่อนำมาทำเป็นเนยและยังสามารถนำไปฆ่าเพื่อเอาเนื้อมาเป็นอาหารได้อีกด้วย

ในท้ายที่สุดการปฏิวัติทางการเกษตรในเมโสโปเตเมียก็นำไปสู่ก้าวต่อไปที่สำคัญของความเจริญก้าวหน้า นั่นก็คือการปฏิวัติในเมือง เมื่อประมาณ 5000-6000 ปีก่อน หมู่บ้านต่างๆในอารยธรรมสุเมเรียนโบราณได้รับการพัฒนาเป็นเมือง โดยชุมชนที่เก่าแก่และโดดเด่นที่สุดก็คือ Uruk เป็นชุมชนที่มีกำแพงล้อมรอบซึ่งมีประชากรประมาณ 40,000-50,000คน ชาวสุเมเรียนพัฒนาระบบการเขียนที่เก่าแก่ที่สุดเช่นเดียวกับศิลปะ สถาปัตยกรรม และระบบราชการที่มีความซับซ้อน เพื่อดูแลการเกษตร การค้า และกิจกรรมทางศาสนา

อารยธรรมของสุเมเรียนยังกลายเป็นแหล่งรวมของนวัตกรรมต่างๆ เนื่องจากชาวสุเมเรียนนำสิ่งประดิษฐ์จากอุปกรณ์อื่นๆมาพัฒนาขึ้นใหม่ ตั้งแต่เครื่องปั้นดินเผาไปจนถึงการทอผ้าและยังค้นพบวิธีการทำสิ่งเหล่านี้ให้อยู่ในระดับอุตสาหกรรมอีกด้วย

ในขณะเดียวกันทางตอนบนของเมโสโปเตเมียก็ได้มีการพัฒนาเขตเมืองของตนเอง เช่น Tepe Gawra ที่ซึ่งนักวิชาการได้ค้นพบวิหารที่สร้างจากอิฐช่องลมและเสาที่สลับซับซ้อนและนอกจากนี้ก็ยังได้ค้นพบฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของอารยธรรมแห่งนี้เช่นกัน

เมโสโปเตเมีย

5. การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่ออารยธรรมเมโสโปเตเมีย

ตามรายงานของ Reculeau การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจจะมีบทบาทในการพัฒนาอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เมื่อ 4000 ปีก่อนคริสตกาล เขาได้อธิบายว่าภูมิอากาศค่อยๆแห้งแล้งมากขึ้นและการไหลของแม่น้ำก็เริ่มคาดเดาไม่ได้ ในเมโสโปเตเมียตอนล่างแม่น้ำก็เริ่มอยู่ห่างจากแผ่นดิน จึงจำเป็นต้องได้รับการชลประทานต้องมีการเพิ่มงานและอาจต้องร่วมมือกันมากขึ้น เนื่องจากพวกเขาต้องทำงานหนักขึ้น และมีระบบระเบียบที่มากขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอดชาวเมโสโปเตเมียจึงค่อยๆพัฒนาระบบการปกครองที่มีความซับซ้อนให้มากกว่าเก่า

ตามที่ Reculeau ได้อธิบายว่า ระบบข้าราชการเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกเพื่อการจัดการกับผลผลิตและบุคลากรของวัดในเมืองใกล้แม่น้ำ จนในที่สุดระบบนี้ก็ได้กลายเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับราชวงศ์ ด้วยเหตุผลของการเคารพต่อเหล่าทวยเทพ แต่ก็ยังคงใช้ระบบข้าราชการเพื่อทำสิ่งต่างๆให้แก่อารยธรรม

ทั้งหมดนี้ก็นำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างทางสังคมที่ชนชั้นสูงเป็นผู้บังคับบัญชาต่อชนชั้นแรงงาน โดยการจัดหาอาหารและการกำหนดค่าจ้างเป็นการตอบแทน ในทางตรงกันข้ามในเมโสโปเตเมียตอนบนผู้คนรับมือกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งด้วยการปฏิบัติในทิศทางตรงกันข้าม Reculeau อธิบายว่าองค์กรทางสังคมในเมโสโปเตเมียตอนบนนั้นจะมีความซับซ้อนน้อยกว่า โดยการที่พวกเขาอาศัยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในชุมชนของพวกเขาเอง

อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดแล้วอารยธรรมเมโสโปเตเมียก็ได้เกี่ยวเนื่องกับการเกิดขึ้นของจักรวรรดิต่างๆ อย่างเช่น Akkad และ บาบิโลเนีย ซึ่งบาบิโลนนี้เองก็เป็นเมืองหลวงของบาบิโลนและได้กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดและก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกยุคโบราณ

สนับสนุนโดย :: baccarat77