Thursday, 18 April 2024

นครวัด นครแห่งศาสนสถานและความเร้นลับ

28 Sep 2022
455
นครวัด

นครวัด ถือเป็นนครแห่งศาสนาและความเล้นลับอีกหลายประเด็นที่ยังรอคําตอบและยังต้องค้นหากันต่อไป โดยเริ่มจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการก่อสร้าง การออกแบบ เทคนิคการใช้วัสดุ บุคคลแรกที่ค้นพบ แต่ที่แน่ๆ นครแห่งนี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมเขมรรูปแบบคลาสสิกที่สําคัญที่สุดที่แฝงคําตอบด้านวัฒนธรรม การเมืองและศิลปะหลากหลายให้ค้นหา ติดตามทั้งหมดนี้ได้ในนครวัด นครแห่งศาสนสถานและความเล้นลับ

ไขปริศนา นครวัด

1. จุดประสงค์ที่แท้จริง

ที่มาของนครวัดยังรอการศึกษา จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่าใครเป็นผู้ก่อสร้างนครวัด และสร้างขึ้นเพื่ออะไร? อย่างไรก็ตามมีนักสํารวจระบุและสันนิษฐานไว้ว่า การออกแบบในขั้นต้นและการก่อสร้างตัวประสาท เริ่มต้นในช่วงครึ่งแรกของคริสตวรรษที่ 12 หรือในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่สอง ซึ่งครองราชย์ในปี 1113 – 1150 สร้างขึ้นเพื่อเป็นปราสาทประจําพระองค์และประจําเมืองพระนคร อุทิศให้แก่พระวิษณุ

เนื่องจากไม่พบหลักฐานที่เป็นจารึกสมัยการก่อสร้างหรือจารึกสมัยใหม่ที่ระบุว่าได้มีการสร้างปราสาทขึ้น จึงไม่ทราบชื่อดั้งเดิมของปราสาทแต่อาจเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ปราสาท วิษณุโลก เป็นชื่อที่ตั้งตามเทพองค์ประธานของปราสาท ทั้งคาดการณ์ว่าการก่อสร้างน่าจะหยุดลงไม่นานหลังจากการสวรรคตของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทำให้ภาพสลักนูนต่ําบางส่วนนั้นยังแกะสลักไม่เสร็จ

ปี 1177 หลังการสวรรคตของพระเจ้าสุริยวรมันที่สอง ราว 27 ปี เมืองพระนครถูกยึดครองโดยชาวจามที่เป็นศัตรูเดิมของชาวเขมร ภายหลังจึงได้มีการฟื้นฟูอาณาจักรขึ้นมาอีกครั้ง โดยพระเจ้าชายวรมันที่เจ็ด สถาปนาเมืองหลวงและปราสาทประจําเมืองแห่งใหม่ขึ้น คือนครธมและปราสาทบายน ซึ่งอยู่ห่างจากนครวัดไปทางเหนือไม่กี่กิโลเมตร

ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่12 นครวัดค่อยๆเปลี่ยนจากศูนย์กลางด้านจิตใจในศาสนาฮินดูไปเป็นศาสนาพุทธ ถึงปัจจุบันนครวัดแตกต่างจากปราสาทอื่นในเมืองพระนคร ที่แม้ตัวปราสาทจะหมดความสําคัญลงไปหลังทศวรรษที่16 ประสาทกลับไม่เคยถูกทิ้งร้างเลย

2. ยังไม่ชัดเจนว่าใครค้นพบนครวัดก่อน

ยังไม่ชัดเจนนักว่าใครเป็นผู้ค้นพบสถานที่แห่งนี้เป็นคนแรก มีเพียงต่างกล่าวอ้างว่าเป็นบุคคลที่มาจากแถบโน้นแถบนี้และเป็นกลุ่มแรกแรกที่ค้นพบ เริ่มจาก Antonio da Magdalena นักบวชชาวโปรตุเกส เดินทางเข้ามาในปี 1586 ระบุว่าเขาเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้พบเห็นนครวัดท่านกล่าวว่านครวัดคือสิ่งก่อสร้างที่น่าพิศวงซึ่งไม่สามารถอธิบายออกมาผ่านปลายปากกาได้ ที่สําคัญประสาทหลังนี้ไม่เหมือนสิ่งก่อสร้างใดบนโลกนี้ ประสาทมียอดหลายยอด มีการตกแต่ง และมีความวิจิตร ที่มีเพียงคนอัจฉริยะเท่านั้นที่จะสามารถสร้างสรรค์ออกมาได้

ในคริสต์ศตวรรษที่17 นครวัดยังทําหน้าที่เป็นวัดในศาสนาพุทธ มีการค้นพบศิลาจารึกที่มีอายุในช่วงคริสต์ศตวรรษที่17กว่าสิบสี่หลักในบริเวณพื้นที่เมืองพระนคร ขณะที่ช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่19 อ็องรี มูโอต์ นักสํารวจและนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสก็อ้างว่าเขาเป็นชาวตะวันตกกลุ่มแรกที่เดินทางมายังที่ปราสาทแห่งนี้และทําให้นครวัดเป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวตะวันตก ผ่านบันทึกการเดินทางที่ได้รับการตีพิมพ์ของเขา โดยระบุว่าหนึ่งในปราสาทเหล่านี้น่าจะเป็นคู่ปรับกับวิหาร Solomon ถูกสร้างสรรค์ โดยมี Gayan Jellow แห่งยุคโบราณ เป็นสถานที่ที่น่ายกย่องเทียบเท่าสิ่งก่อสร้างที่งดงามของพวกเรา ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใดใดที่กรีกหรือโรมันทิ้งเอาไว้ แต่ชั่งขัดแย้งอย่างน่าเศร้ากับดินแดนที่เสื่อมอํานาจจนกลายเป็นแดนป่าเถื่อนไปแล้ว นอกจากนี้ มูโอต์ ยังระบุว่าเขาแทบจะไม่เชื่อว่าชาวเขมรจะสามารถสร้างปราสาทหลังนี้และได้กําหนดอายุสมัยของนครวัดเอาไว้อย่างผิดพลาด โดยระบุว่าน่าจะอยู่ในช่วงยุคสมัยเดียวกันกับกรุง Rome

3. ประวัติที่แท้จริงนครวัดยังรอการค้นหา

เมื่อถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถรู้ประวัติที่แท้จริงของนครวัด มีเพียงหลักฐานด้านรูปแบบการสร้างและจารึกที่ถูกรวบรวมขึ้นในระหว่างการเก็บกวาดและบูรณะพื้นที่เท่านั้น ช่วงศตวรรษที่20 นครวัดมีความจําเป็นต้องได้รับการบูรณะเพื่อกําจัดวัชพืชและกองดิน แต่งงานบูรณะก็ต้องหยุดชะงักลงเพราะเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศกัมพูชา และกองทัพเขมรแดงได้เข้ามาควบคุมประเทศตลอดในช่วงปีทศวรรษที่ 1970 ถึงทศวรรษที่ 1980 อย่างไรก็ตามช่วงนั้นตัวปราสาทได้รับความเสียหายไม่มาก กองกําลังเขมรแดงที่ต้องพักแรมทําเพียงใช้ไม้ทุกชนิดที่เหลืออยู่ในปราสาทเป็นฟืน แต่หนึ่งในพื้นที่นั้นถูกทําลายลงด้วยปลอกระเบิดของทหารฝั่งสหรัฐอเมริกา ขณะที่การยิงตอบโต้กับกองกําลังเขมรแดงและทหารเวียดนาม ส่วนความเสียหายที่รุนแรงเกิดขึ้นภายหลังสงครามยุติลง เพราะมีพวกหัวขโมย ขโมยงานศิลปะ ที่มักจะมีขบวนการปฏิบัติกันนอกประเทศ

4. นครวัด ตัวแทนวัฒนธรรมการเมือง

ปราสาทแห่งนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ที่มีอิทธิพลที่สุดของประเทศกัมพูชา ยังเป็นความภาคภูมิใจของชาติที่มีส่วนช่วยในเรื่องความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย ภาพลายเส้นของนครวัดถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของธงชาติกัมพูชา นับจากปี 1863 ที่เป็นธงรุ่นแรกที่ใช้ภาพของนครวัดบนตัวธง ส่วนหากมองมุมวัฒนธรรมข้ามชาติหรือแม้แต่ด้านประวัติศาสตร์จะพบว่า นครวัดไม่ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของชาติกัมพูชาเพียงชาติเดียว นครวัดยังถูกจดจําด้วยกระบวนการด้านวัฒนธรรมการเมืองเกิดจากมรดกที่ตกทอดมาจากจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสอีกด้วย

โดยได้จัดแสดงปราสาทนครวัดที่จําลองไว้ในนิทรรศการของอาณานิคมฝรั่งเศสที่ปารีสและมาร์แซร์ ระหว่างปี 1889 ถึง 1937 อีกทั้งความงดงามของนครวัดยังถูกจัดแสดงในรูปแบบแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่พิพิธภัณฑ์ของ Louis De Laporte พิพิธภัณฑ์อินโดจีนแห่งตรอกาเดโร ซึ่งจัดแสดงอยู่ในวังพาริเซิน ตรอกาเดโล ให้ชาวฝรั่งเศสได้ชื่นชม

5. รูปแบบภูเขาผนวกอาคาร จุดเด่นนครวัด

รูปแบบการก่อสร้างนครวัดที่โดดเด่นนั้นเกิดจากการรวมเอาลักษณะการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา รวมเข้ากับแบบผังของอาคารในสมัยหลังที่ทําระเบียงคดล้อมจุดศูนย์กลาง นอกจากนี้ปราสาทยังมีนัยสําคัญเกี่ยวกับท้องฟ้า เรามีองค์ประกอบภายในของตัวปราสาทด้านทิศตะวันออกและตะวันตก มีระเบียงเชื่อมต่อเข้าหากัน โดยปราศจากสิ่งกําบัง ทำให้ปราสาททั้งสองทิศ ตั้งอยู่ในตําแหน่งเดียวกันกับพระอาทิตย์ที่ขึ้นในช่วงวันอายันต์ อีกทั้งยังสื่อถึงเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สถิตของเทพเจ้า โดยปรางประธานตรงกลางทั้งห้าเป็นสัญลักษณ์แทนถึงยอดห้ายอดของภูเขา ส่วนกําแพงแต่ละชั้นและคูน้ํานั้นเป็นตัวแทนสัตบริพันธ์และมหาสมุทร

6. เป้าหมายแห่งการวางโครงสร้างยังถกไม่จบ

นครวัดต่างจากปราสาทเขมรหลังอื่น เรื่องการวางทิศประทานที่หันไปทางทิศตะวันตกแทนที่จะเป็นทิศตะวันออก ซึ่งความต่างนี้ส่งผลให้ผู้คนจํานวนมาก รวมไปถึงมอริส เกรซ และ ยอร์ช เซเดส์ สรุปว่าพระเจ้าสุริยวรมันประสงค์ที่จะสร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นเป็นปราสาทที่เก็บพระบรมศพของพระองค์ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานอื่นที่ได้จากการศึกษาภาพสลักนูนต่ําที่เรียงลําดับเรื่องราวในทิศทวนเข็มนาฬิกาต่างจากเทวสถานฮินดูทั่วไป โดยพิธีกรรมของพราหมณ์ในพิธีพระบรมศพยังจัดขึ้นแบบย้อนลําดับ ขณะที่นักโบราณคดี ชาร์ล ไฮแฮม ยังอธิบายถึงภาชนะชิ้นหนึ่งว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นพระโกศบรรจุพระบรมอัฐิ โดยภาชนะนี้ถูกขุดขึ้นมาจากปรางค์ประธานตรงกลาง แต่บุคคลบางกลุ่มเสนอแนวคิดที่ว่าปรางประธานตรงกลางเหมาะสมที่สุดต่อพิธีจัดการกับพระบรมศพ ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่าเปรียบเสมือนศูนย์รวมของพลังอํานาจทั้งปวง แต่นักวิชาการบางคนระบุว่าปราสาทหลายหลังในเมืองพระนครเอง ไม่ได้หันไปทางทิศตะวันออกตามธรรมเนียมและเสนอว่าการที่นครวัดมีการวางทิศเช่นนี้ เพราะปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ซึ่งเป็นเทพเจ้าประจําทิศตะวันตก

7. ยังมีผู้ที่มีความเห็นต่าง

เอเลนอร์ แมนนิกกาได้นำเสนอการตีความนครวัดในแบบที่ต่างออกไป โดยได้วิเคราะห์จากการวางทิศ มิติของอาคาร และจากลำดับการเล่าเรื่องของภาพสลักนูนต่ำ และแย้งว่าปราสาทแห่งนี้ได้อ้างถึงยุคสมัยใหม่แห่งความสงบสุขในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรรมันที่ 2 โดยได้ระบุว่าเนื่องจากมีการคำนวณวงจรเวลาการขึ้นของพระอาทิตย์และพระจันทร์ไว้ในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของนครวัด ภาพเทพเทวดาผู้อยู่ในอาณัติของการปกครองจึงได้ปรากฏอยู่บนตัวเรือนธาตุและเฉลียง สื่อความหมายถึงปกปักษ์ให้อำนาจของกษัตริย์เป็นนิจนิรันดร เป็นการเฉลิมพระเกียรติและสร้างความสงบแก่เหล่าเทวดาที่ประทัพอยู่บนสรวงสวรรค์ ข้อเสนอของแมนนิกกาได้รับความสนใจและข้อแคลงใจในแวดวงนักวิชาการ เธอได้ฉีกหนีข้อสันนิษฐานของนักวิชาการคนอื่นๆ เช่น เกรย์แฮม แฮนด์ คอก ด้วยข้อสันนิษฐานที่ว่า นครวัด นั่นคือสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงกลุ่มดาวมังกร

นครวัดถือเป็นสถาปัตยกรรมเขมรรูปแบบที่สําคัญที่สุด ซึ่งชื่อเรียกรูปแบบศิลปะในสมัยคลาสสิกนี้ยังเรียกกันว่าศิลปะนครวัดอีกด้วย ในช่วงคริสตศวรรษที่12นั้น สถาปนิกเขมรมีทั้งทักษะความสามารถ และความมั่นใจในการใช้หินทรายเป็นวัสดุโครงสร้างหลักของอาคาร จากเดิมที่ใช้อิฐหรือศิลาแลงในการก่อสร้าง ส่วนของปราสาทที่มองเห็นทํามาจากหินทรายที่ตัดเป็นบล็อคขณะที่กําแพงภายนอกและโครงสร้างภายในทําจากศิลาแลงจะใช้บล็อกหินทรายปิดบังเอาไว้ภายนอก โดยยังไม่มีการชี้ชัดว่าวัสดุที่ใช้เชื่อมหินแต่ละก้อนให้ติดกันนั้นคืออะไร แม้จะมีการเสนอว่าเป็นยางไม้และน้ําปูนใสก็ตาม

ปราสาทแห่งนี้ได้รับการยกย่องเหนือปราสาทหลังอื่นๆ เพราะความกลมกลืนของการออกแบบ มอริส เกรซ นักอนุรักษ์ของปราสาทนครวัด ในช่วงศตวรรษที่ 20 ได้ระบุว่าประสาทหลังนี้ได้บรรลุถึงความสมบูรณ์แบบที่คลาสสิกด้วยการเป็นอนุสรณ์แห่งองค์ประกอบที่มีความพอดีอย่างประณีต มีการจัดสัดส่วนที่แม่นยําเป็นผลงานที่เปี่ยมไปด้วยพลัง มีความเป็นหนึ่งเดียวและเต็มไปด้วยลีลาที่รอวันให้ผู้สนใจได้เข้ามาชมและศึกษาค้นคว้าต่อไป

สนับสนุนบทความโดย :: slotxo168