Monday, 25 November 2024

4 เมืองโบราณภาคกลาง ก่อนอาณาจักรสุโขทัย

20 Dec 2022
397

เมืองโบราณภาคกลาง

เมื่อพูดถึงการก่อตั้งราชอาณาจักรไทย คนส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจในเชิงประวัติศาสตร์ว่า ในพื้นที่ภาคกลางจะเริ่มต้นที่อาณาจักรสุโขทัย ไล่เรียงมายังกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ที่จริงแล้วยังคงมีอาณาจักร หรือรัฐอื่นๆ ที่เคยดํารงอยู่ในพื้นที่  22 จังหวัดในภาคกลางของไทยมาก่อน storymaker ขอพาเพื่อนๆ ย้อนเวลาไปรําลึกถึงเรื่องราวความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องราวผ่านโบราณสถาน หรือโบราณวัตถุที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันกับ 4 เมืองโบราณภาคกลาง ก่อนอาณาจักรสุโขทัย

เมืองโบราณภาคกลาง ก่อนอาณาจักรสุโขทัย มีที่ไหนบ้าง

เมืองนครปฐมโบราณ

1. เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม

เมืองนครปฐมโบราณมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเมืองนครชัยศรี เป็น 1 ใน 3 เมืองโบราณที่นักวิชาการคาดกันว่าน่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีที่ใหญ่ที่สุดด้วยขนาดพื้นที่กว่า 7 ตารางกิโลเมตร อายุเก่าแก่นับย้อนหลังไปได้ราว 1,500 ปี หรือดํารงอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 – 16 มีการค้นพบร่องรอยการวางผังเมืองและหลักฐานโบราณคดีจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สัญลักษณ์คู่บ้านคู่เมืองอย่างองค์พระปฐมเจดีย์nที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ระฆังคว่ำ ครอบทับองค์เจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมสมัยทวารวดีที่มีอยู่เดิม โดยหากต้องการศึกษาประวัติความเป็นมาและรูปทรงของเจดีย์ทวารวดีแบบดั้งเดิมก็ยังคงสามารถศึกษาได้จากเจดีย์จุลประโทนและพระประโทนเจดีย์ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลกันและยังคงปรากฏหลักฐานให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

นอกจากนี้บริเวณวัดพระเมรุในเมืองนครปฐมโบราณยังเป็นจุดที่พบพระพุทธรูปศิลาขาวปางแสดงธรรม ประทับนั่งห้อยพระบาทที่ใหญ่ที่สุดของอารยธรรมทวารวดีในประเทศไทยถึง 5 รูปด้วยกัน พร้อมๆกับการค้นพบธรรมจักรที่แกะสลักจากศิลาจํานวนมากเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการเดินทางมาถึงของพุทธศาสนาในแผ่นดินไทยโดยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย โดยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 มีบันทึกของพระภิกษุชาวจีนที่เดินทางไปยังอินเดียได้กล่าวถึงดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างพม่าและเขมรบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยามีชื่อว่าโถโลโปตีซึ่งออกเสียงคล้ายกับคําว่าทวารวดีตลอดจนการเหรียญเงินที่มีอักษรโบราณจารึกว่า “ ศฺรีทฺวารวตี ศฺวรปุณฺย ” หมายถึง พระเจ้าศรี ทวารวดี ผู้มีบุญอันประเสริฐ แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมทวารวดีในพื้นที่นี้

เมืองโบราณอู่ทอง

2. เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

เมืองในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยที่มีหลักฐานว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่มาตั้งแต่เมื่อ 3,000 ปีก่อน มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ มีการค้นพบทางโบราณคดีเป็นเครื่องมือที่ทําจากหินและโลหะและข้าวของเครื่องใช้แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเมืองติดต่อค้าขายกับต่างชาติ ทั้งจีน อินเดีย และชาติตะวันตกคาดกันว่าเมืองโบราณอู่ทองนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสุวรรณภูมิ โดยหนังสือมหาวงศ์ พงศาวดารลังกา ระบุว่า พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย เคยส่งพระสงฆ์มาเผยแผ่พุทธศาสนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 30 จึงทําให้มีการค้นพบสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาในดินแดนนี้หลายอย่าง

ในเวลาต่อมา อาทิ ธรรมจักร และเสาหินแกะสลัก ตลอดจนประติมากรรมดินเผา รูปพระภิกษุอุ้มบาตร นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าเมืองโบราณอู่ทอง ยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของอาณาจักรทวารดี พระภูมิหลังที่ตั้งของเมือง และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งรอยพระพุทธบาทจําลองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่วัดเขาดีสลัก เป็นรูปแกะสลักนูนต่ำ มีธรรมจักรอยู่กลางฝ่าเท้า และมีลายกลีบบัวล้อมรอบพระบาท

ซึ่งเป็นลวดลายศิลปะทวารวดีที่ได้รับความนิยมกันมากในยุคนั้น เช่นเดียวกับที่วัดเขาพระหรือ วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม ก็เป็นอีกหนึ่งที่ที่มีรอยพระพุทธบาท และแผ่นหินรูปสลักนูนสูง รูปพระนารายณ์สี่กร ซึ่งเป็นศิลปะสมัยทวารวดี ทําให้มีการยกย่องกัน ว่าเมืองอู่ทองโบราณเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา และศิลปะเขมรที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในไทยและทรงอิทธิพล ต่อไปยังเมืองอื่นๆ ในพื้นที่ภาคกลางของไทยในเวลาต่อมา

เมืองละโว้

3. เมืองละโว้ จังหวัดลพบุรี

ก่อนกระแสละครบุพเพสันนิวาสที่ทําให้คนไทยพากันแต่งตัวย้อนยุคไปเที่ยวชมสถานท่องเที่ยวสําคัญๆในจังหวัดลพบุรี ด้วยความชื่นชมต่อประวัติศาสตร์ในยุคพระนารายณ์มหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่จริงแล้วลพบุรีหรือเมืองละโว้ มีประวัติความเป็นมาย้อนหลังไปได้ไกลกว่า 3,000 ปี กับหลากหลายตํานานและเรื่องเล่าประกอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้นพบโครงกระดูกและข้าวของเครื่องใช้ในยุคสัมฤทธิ์บริเวณที่ตั้งของอําเภอพัฒนานิคมและอําเภอโคกเจริญในปัจจุบัน

รวมถึงตํานานของพระนางจามเทวี พระราชธิดาของเมืองละโว้ที่เสด็จไป เมืองหริภุญชัย หรือลําพูนเป็นองค์แรก และทรงทํานุบํารุงพุทธศาสนาในดินแดนภาคเหนือให้รุ่งเรือง ตลอดจนการที่กษัตริย์เขมรได้ทรงราชโอรสมาครองเมืองละโว้ในฐานะประเทศราชและสถาปัตยกรรมสําคัญที่โดดเด่นใจกลางเมืองคือพระปรางค์สามยอด ปราสาทเขมรศิลปะแบบบายน ประกอบด้วยศิลาแลง ประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งอาณาจักรเขมรหรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 เพื่อให้เป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยาน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นก่อนที่กรุงสุโขทัยจะรุ่งเรืองและเป็นราชธานีสําคัญของไทย อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา ละโว้ก็ถูกผนวกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาและกลายมาเป็นราชธานีแห่งที่ 2 ในสมัย พระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์องค์ที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา

เมืองศรีเทพ

4. เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

เมืองโบราณในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ที่รอการพิจารณาเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นอาณาจักรโบราณที่นักประวัติศาสตร์บางสํานักเชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรทวารดี เป็นสถาปัตยกรรมแบบขอมตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ เมืองโบราณศรีเทพ ถูกทิ้งร้างมานานนับพันปี ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยจะทรงค้นพบ ในปีพุทธศักราช 2447 แต่ได้ทรงศึกษาข้อมูลนํามาเปรียบเทียบจนพบว่าที่นี่เป็นเมืองโบราณที่สําคัญในอดีตและค่อยๆทําการบูรณะเรื่อยมาจนปัจจุบันเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์ ที่มีพื้นที่รวมกว่า 8,000 ตารางกิโลเมตร

เมืองโบราณศรีเทพชั้นในมีการสร้างเนินดินล้อมคล้ายกําแพงเมืองแต่ไม่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านภายในตัวเมือง จึงเชื่อกันว่าศรีเทพเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาประกอบพิธีกรรมและไม่มีใครกล้าเข้าไปอาศัยอยู่ ส่วนชั้นนอกเป็นสถูปขนาดใหญ่และถ้ำที่มีภาพประติมากรรมแกะสลักนูนต่ำ ภายในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพนี้ยังมีการค้นพบโบราณวัตถุมีค่าจํานวนมากรวมไปถึงโครงกระดูกของมนุษย์ นับเป็นแหล่งโบราณคดีอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย

นี่เป็นเพียง 4 เมืองโบราณ ในเขตพื้นที่ภาคกลางก่อนการรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัย ที่จริงแล้วยังมีอีกหลากหลายอาณาจักรบนแผ่นดินไทยที่ทรงคุณค่าและรอการค้นพบหลักฐานใหม่ๆเพิ่มเติม แสดงให้เห็นถึงสิ่งสําคัญทางประวัติศาสตร์ที่เคยดํารงอยู่ในอดีต

สนับสนุนบทความโดย :: w88wallet