อารยธรรมอียิปต์โบราณมาถึงจุดสูงสุดของอำนาจ ทั้งด้านความมั่งคั่งและอิทธิพลในยุคของอาณาจักรใหม่ (New Kingdom) ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์ผู้โด่งดัง เช่น ฟาโรห์ตุตันคามุน (Tutankhamun), ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) และฟาโรห์แรมซีสที่ 2 (Ramses II) แต่จักรวรรดิอียิปต์ที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่ก็ค่อยๆ เสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ ด้วยภัยแล้งที่กินเวลายาวนานหลายศตวรรษ วิกฤตทางเศรษฐกิจและการปกครองโดยชาวต่างแดน สำหรับวันนี้ storymaker จะมาเล่าสรุปให้ฟังถึงสาเหตุในช่วง ภาวะตกต่ำของอาณาจักรอียิปต์โบราณ
สาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะตกต่ำของอาณาจักรอียิปต์โบราณ
1. ฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย
Ramses lll ปกครองอียิปต์ตั้งแต่ 1186-1155 ปีก่อนคริสตกาล รวมแล้วเป็นเวลา 31 ปี และได้รับการยกย่องว่าเป็นฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายที่ปกครองจนทําให้อาณาจักรอียิปต์เข้าสู่ยุคที่เรืองรอง แต่แล้วอาณาจักรของเขาก็ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่วุ่นวายและท้าทายที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นทางด้านแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุคโบราณก็คือการรุกรานของกลุ่มคนที่เรียกกันว่าชาวทะเลหรือ Sea Peoples อัตลักษณ์ที่แท้จริงของชาวทะเลยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อกันว่าพวกเขาเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติจากแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฝั่งตะวันตก ซึ่งได้พลัดถิ่นและเร่ร่อนมาเนื่องจากเหตุการณ์ภัยแล้งและความอดอยาก
ชาวทะเลจึงได้มุ่งหน้ามาทางทิศตะวันออกเพื่อมองหาดินแดนใหม่ทั้งยึดครองและอาศัยอยู่ ว่ากันว่าชาวทะเลอาจจะใช้กองเรือมาปล้นสะดมและโจมตีอียิปต์อย่างน้อย 2 ครั้ง ในช่วงการปกครองของฟาโรห์เมร์เนปทาห์และฟาโรห์แรเมซีสที่ 3 เมื่อ 1177 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรต์แรเมซีสที่ 3 ก็ประสบความสําเร็จในการนํากองเรืออียิปต์ปกป้องการรุกรานและสามารถขับไล่ชาวทะเลได้ หลังจากนั้นฟาโรห์ก็ได้จารึกถึงชัยชนะครั้งนี้ไว้บนกําแพงของวิหารและสุสานของเขาซึ่งในปัจจุบันก็เป็นมรดกอันล้ําค่าที่ตั้งอยู่ในเมือง Luxor ประเทศอียิปต์นั่นเอง
Eric Cline นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ด้านยุคสำริด ผู้ที่เขียนหนังสือ 1177 BC : The Year Civilization Collapsed กล่าวว่าในช่วงปีที่ล่มสลายนั้นถึงแม้ว่าฟาโรห์ Ramsesที่3 จะสามารถอดทนต่อการรุกรานและต่อกรกับชาวทะเลไว้ได้ แต่เขาก็ไม่สามารถป้องกันการลอบสังหารที่กระทําโดยราชินีอันดับ 2 ในฮาเร็มของเขาเอง จากการตรวจสอบร่างของมัมมี่ฟาโรห์แรเมซีสที่ 3 ก็ได้พบว่าเขาถูกแทงที่คอและถูกสังหารเมื่อ 1155 ปีก่อนคริสตกาล
2. ผลกระทบจากการล่มสลายของยุคสำริด
ในศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสตกาล ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมดก็ต้องผ่านเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่สร้างความหายนะและรุนแรงหรือที่เรียกกันว่า การล่มสลายของยุคสำริด ทั้งการตกอยู่ภายใต้การรุกรานของชาวทะเลและภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นพร้อมกัน สิ่งเหล่านี้จึงทําให้การล่มสลายนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
การต่อต้านและขับไล่ชาวทะเลของฟาโรห์แรเมซีสที่ 3 อาจทําให้อาณาจักรอียิปต์อยู่ได้นานขึ้นแต่ในที่สุดแล้วก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับปัญหาที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างแบบเดียวกับภูมิภาคอื่นๆนั่นก็คือภัยแล้งครั้งใหญ่ที่กินเวลาร่วม 150 ปีหรือมากกว่านั้น และครั้งนี้ถือเป็นการล่มสลายของเครือข่ายการค้าทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ครั้งหนึ่งเคยรุ่งเรืองอย่างมาก
ผลกระทบของอาณาจักรอียิปต์หลังการล่มสลายของยุคสำริดและหลังรัชสมัยของฟาโรห์แรเมซีสที่ 3 โดยสรุปก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างดินแดนที่เคยมีความโดดเด่นและกว้างขวางอย่างมากในช่วงปลายยุคสำริดนั้นล้วนถูกตัดขาดและต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอาหารและการสู้รบกันทางการเมือง นั่นจึงทําให้บทบาทของอียิปต์ในฐานะมหาอํานาจระหว่างดินแดนก็ลดลงอย่างรวดเร็ว
3. ปัญหาต่างๆ ในรัชสมัยของฟาโรห์รุ่นต่อมา
หลังจากการสิ้นพระชนม์ของ ฟาโรห์แรเมซีสที่ 3 อาณาจักรอียิปต์ถูกปกครองโดยฟาโรห์แรเมซีสรุ่นต่อๆไป ซึ่งว่ากันว่าไม่มีใครจะมีประสิทธิภาพในการปกครองเทียบเท่ากับฟาโรห์แรเมซีสที่ 3 ได้ ในบันทึกทางโบราณคดีจากช่วงเวลานี้ได้ให้เบาะแสต่างต่างที่เจาะลึกว่าทำไมอียิปต์ถึงเข้าสู่ความเสื่อมอํานาจลงได้อย่างรวดเร็วเช่นนี้
ตัวอย่างเช่น มัมมี่ของฟาโรห์แรเมซีสที่ 5 ที่ดูเหมือนจะมีรอยแผลจากการเป็นฝีดาษบนใบหน้าของเขา ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ก็ยังไม่แน่ใจว่าเขาได้เสียชีวิตจากไข้ทรพิษจริงๆหรือไม่ แต่ในบันทึกก็ระบุว่าฟาโรห์แรเมซีสที่ 5 และครอบครัวของเขาถูกฝังอยู่ในสุสานที่สร้างขึ้นมาใหม่ที่เรียกกันว่าหุบเขากษัตริย์ Valley of the Kings และยังทําการปิดสถานที่หลังพิธีศพไว้เป็นเวลา 6 เดือน โดยห้ามไม่ให้มีใครเข้า
สิ่งนี้จึงทําให้นักวิชาการบางคนเชื่อว่านี่อาจจะเป็นหนึ่งในคําสั่งการวินิจฉัยแยกโรคครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เป็นบทเรียนมาจนถึงปัจจุบันและเหตุการณ์นี้ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าอียิปต์อาจจะมีการระบาดของไข้ทรพิษในขณะนั้น นอกจากนี้นักโบราณคดียังกล่าวว่า ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์แรเมซีสที่ 5 และฟาโรห์แรเมซีสที่ 6 อียิปต์ดูเหมือนจะสูญเสียการควบคุมเหมืองทองแดงและเหมืองแร่ที่เป็นทรัพยากรสําคัญในคาบสมุทรซีนายไป เนื่องจากชื่อของพวกเขาเป็นชื่อสุดท้ายของฟาโรอียิปที่จารึกไว้บนสถานที่นี้ สิ่งนี้จึงทําให้เชื่อว่าอียิปต์อาจจะถอนตัวออกจากคาบสมุทรซีนายและดินแดนคานาอันโดยสมบูรณ์
ภายในช่วงปี 1140 ก่อนคริสตกาล ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ําเป็นอย่างมากและความเคารพในอํานาจของฟาโรห์ก็หมดไป จึงทําให้ยุคของฟาโรห์แรเมซีสที่ 9 ซึ่งปกครองในช่วงปลายศตวรรษที่12 ก่อนคริสตกาล ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่ประชาชนได้กลายเป็นโจรไปบุกปล้นสุสานของฟาโรห์ที่เสียชีวิตไปแล้วอย่างโจ่งแจ้ง เพื่อที่จะขโมยทองคําและทรัพย์สมบัติในยามที่บ้านเมืองกําลังวิกฤต
นักโบราณคดีกล่าวว่าในขณะนั้นการทําแบบนี้ถือเป็นอาชญากรรมที่น่าตกใจแต่ในรัชสมัยของฟาโรห์แรเมซีสที่ 9 ก็เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการปล้นสุสานหลวงเท่านั้น เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งในรัชสมัยของฟาโรห์แรเมซีสที่ 11 พวกเขาต้องทําการย้ายมัมมี่ของราชวงศ์บางส่วนออกไปเพื่อความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นปัญหาหนึ่งที่กินเวลามาอย่างยาวนาน
4. บัลลังก์ของคนต่างแดน
ในช่วงการสิ้นสุดยุคอาณาจักรใหม่หรือจักรวรรดิอียิปต์ ทางด้านอียิปต์ก็ถูกปกครองโดยมหาอํานาจจากต่างแดนเป็นจํานวนมากจะมีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าอียิปต์ได้เสื่อมอํานาจลงในฐานะจักรวรรดิอิสระ เริ่มต้นด้วยการขึ้นครองบัลลังก์ของชาวลิเบียซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนจากชายแดนตะวันตกของอียิปต์ที่สามารถสร้างอิทธิพลและเผยแพร่วัฒนธรรมจนค่อยๆเข้ามาปกครองได้สําเร็จ จึงทําให้ฟาโรห์โชเชงที่ 1 เป็นฟาโรห์แห่งลิเบียองค์แรกและเป็นราชวงศ์ที่ 22 ที่พยายามฟื้นฟูวันแห่งความรุ่งโรจน์ของฟาโรห์แรเมซีสที่ 3 โดยการบุกรุกอาณาจักรของอิสราเอลและยูดาในศตวรรษที่10 ก่อนคริสตกาล
ต่อมาในช่วงศตวรรษที่18 ก่อนคริสตกาล ชาว Nubians ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์อียิปต์อย่างสงบในช่วงเวลาที่เกิดความวุ่นวายทางการเมืองการสืบทอดบัลลังก์ของฟาโรห์กุ๊ดได้ปกครองอียิปต์เป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษในฐานะราชวงศ์ที่ 25 ก่อนที่จะถูกชาวอัสซีเรียเข้าเมืองรุกราน ตามมาด้วยชาวเปอร์เซีย ชาวกรีก ชาวโรมัน และชาวอิสลาม และนั่นคือจุดจบของอียิปต์ในฐานะอํานาจอิสระ
อียิปต์ได้พบกับความยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้ายภายใต้ราชวงศ์ปโตเลมีในช่วง 305-330 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นการสืบทอดอํานาจของฟาโรห์ที่มาจากกรีกโบราณของมาซิโดเนีย ราชวงศ์นี้ได้ขึ้นปกครองอียิปต์หลังจากการสิ้นพระชนม์ของอเล็กซานเดอร์มหาราชและสําหรับผู้ปกครองที่เป็นที่รู้จักกันดีในราชวงศ์ปโตเลมีก็คือ พระนางคลีโอพัตราที่ 7 ผู้สร้างเมืองหลวงกรีกอันยิ่งใหญ่ในอเล็กซานเดียร์และเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล คลีโอพัตราและแม่ทัพโรมันอย่าง มาร์ค แอนโทนี่ คนรักของเธอก็ได้พ่ายแพ้ในสงครามครั้งสุดท้ายต่อจักรพรรดิโรมันอย่าง Augustus
หลังจากนั้นอียิปต์ก็ได้กลายเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของสาธารณรัฐโรมันและนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโรมันจากสาธารณรัฐไปเป็นจักรวรรดิ โดยที่ Augustus ก็ได้กลายเป็นจักรพรรดิ์องค์แรกของจักรวรรดิโรมันและจากเหตุการณ์นี้ก็ถือเป็นการยุติราชวงศ์อียิปต์โบราณกลุ่มสุดท้ายนั่นเอง
สนับสนุนบทความโดย :: tangball789