Saturday, 30 November 2024

ย้อนรอยประวัติและการกำเนิดของ คอมพิวเตอร์

11 Feb 2023
350

คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ คืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ทั้งตัวเลขตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่างๆ โดยคุณสมบัติที่สําคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกําหนดชุดคําสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ คอมพิวเตอร์สามารถทํางานได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับชุดคําสั่งที่เลือกมาใช้งานทําให้สามารถนําคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง วันนี้ storymaker จะพาทุกท่านไปรู้จักกับประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กัน

ประวัติความเป็นมาของ คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคํานวณของคนจีนที่เรียกว่า ลูกคิด ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2000-3000 ปีมาแล้ว จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Charles Babbage ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ The Analytical Engine สามารถคํานวณค่าของตรีโกณมิติฟังก์ชันต่างๆทางคณิตศาสตร์ การทํางานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคํานวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังงานเครื่องยนต์ไอน้ําหมุนฟันเฟืองมีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คํานวณได้โดยอัตโนมัติและเก็บข้อมูลในหน่วยความจํา ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ

ประวัติความเป็นมาของ คอมพิวเตอร์

หลักการของแบบนี้เองที่ได้นํามาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้ Charles Babbage เป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นเป็นต้นมาได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาดทําให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค

ยุคหลอดสุญญากาศ

ยุคที่1 พุทธศักราช 2485-2501 ยุคหลอดสุญญากาศ

เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่เครื่องคํานวณ โดย เมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต ได้นําแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่ง เรียกว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Computer) ซึ่งต่อมาได้ทําการปรับปรุงการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นและได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (UNIversal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสํารวจสัมมนาประชากรประจําปี จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศในการควบคุมการทํางานของเครื่องซึ่งทํางานได้อย่างรวดเร็วแต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง

ยุคทรานซิสเตอร์

ยุคที่2 พุทธศักราช 2505-2506 ยุคทรานซิสเตอร์

มีการนำทรานซิสเตอร์มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงทําให้เครื่องมีขนาดเล็กลงและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานให้มีความรวดเร็วและแม่นยํามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาฟอร์แทน จึงทําให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรม สําหรับใช้กับเครื่อง

ยุควงจรรวม

ยุคที่3 พุทธศักราช 2507-2512 ยุควงจรรวม

คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม Integrated circuits หรือเรียกกันย่อๆว่า IC ซึ่ง ic นี้ทําให้ส่วนประกอบของวงจรต่างๆสามารถวางลงบนแผ่นชิปเล็กๆเพียงแผ่นเดียวจึงมีการนําเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทําให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล Databases Management System และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทํางานร่วมกันได้หลายๆงานในเวลาเดียวกันและมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายๆคนพร้อมกัน

ยุค LSI Chip

ยุคที่4 พุทธศักราช 2513-2532 ยุค LSI Chip

เป็นยุคที่นําสารกึ่งตัวนํามาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก Very large-scale integration ซึ่งสามารถย่อส่วน IC ธรรมดาหลายๆวงจรเข้ามาในวงจรเดียวกันและมีการประดิษฐ์ Microprocessor ขึ้นทําให้เครื่องมีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทํางานสูงและรวดเร็วมาก จึงทําให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลถือกําเนิดขึ้นมาในยุคนี้

ยุคเครือข่าย

ยุคที่5 พุทธศักราช 2533-ปัจจุบัน ยุคเครือข่าย

ในยุคนี้ได้มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในการทํางานของระบบคอมพิวเตอร์และความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขึ้นใช้งานในยุคนี้

หลักการทํางานคอมพิวเตอร์

หลักการทํางานเบื้องต้นของระบบคอมพิวเตอร์

เริ่มจากผู้ใช้ทําการกรอกข้อมูลหรือคําสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล ซึ่งข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนําไปเก็บไว้ที่เก็บข้อมูล จากนั้นก็จะถูกนําไปประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลแล้วนําผลที่ได้จากการประมวลมาเก็บไว้ในหน่วยความจําแรม พร้อมแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล ดังนั้นระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์จึงแบ่งการทํางานได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนอุปกรณ์รับข้อมูล ส่วนประมวลผล ส่วนเก็บข้อมูล และอุปกรณ์แสดงผล

  1. ส่วนอุปกรณ์รับข้อมูล Input Device เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอุปกรณ์ Input ใช้สําหรับในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น เมาส์ คีย์บอร์ด โมเด็ม จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ เป็นต้น
  2. ส่วนประมวลผล Processing Device อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่ประมวลผลข้อมูลคือ CPU Central Poseting Unit ใช้คํานวณและประมวลผลคําสั่งต่างๆตามโปรแกรมที่กําหนด ซึ่งทําหน้าที่คล้ายๆกับสมอง
  3. ส่วนเก็บข้อมูล Storage Devices อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เก็บข้อมูลและเป็นเครื่องช่วยในการบันทึกข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี ซีบดิ๊ก เป็นต้น
  4. แสดงผลลัพธ์ Output Device หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์ Output ทําหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมา เช่น แสดงบนจอภาพหรือพิมพ์สู่กระดาษ รวมทั้งเสียงที่ขับออกมาจากลําโพง เป็นต้น

คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทที่สําคัญยิ่งต่อสังคมของมนุษย์เราในปัจจุบันแทบทุกวงการล้วนนําคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการใช้งาน จนกล่าวได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่สําคัญอย่างยิ่งต่อการดําเนินชีวิตและการทํางานในชีวิตประจําวัน ฉะนั้นการเรียนรู้เพื่อทําความรู้จักกับคอมพิวเตอร์จึงถือเป็นสิ่งที่มีความจําเป็นเป็นอย่างยิ่ง

สนับสนุนบทความโดย : ufa079