สรุปย่อ หนังสือ Think Again การใช้ชีวิตประจําวันของเราในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูลและความรู้มากมาย ที่ความรู้เปรียบเสมือนพลังและอํานาจ แต่การที่เรารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เราไม่รู้ ก็คือปัญญา เพราะคนเรายิ่งรู้มากเท่าไร เก่งมากเท่าไร ฉลาดมากเท่าไร เรามักจะติดอยู่กับความคิด ความเชื่อ ความสามารถของตนเอง จนเราทําให้มันเกิดเป็นอัตราที่ก่อร่างสร้างตัวเป็นกำแพงสูงที่คอยปิดกั้นความคิดเห็น ความรู้หรือความเชื่อที่แตกต่างออกไป
แต่ในความเป็นจริงคือความคิด ความเชื่อ ความสําเร็จเดิมๆของเราไม่ได้หมายความว่าจะกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องในอนาคตเสมอไป สิ่งที่เราเคยรู้อาจจะเป็นจุดบอดได้ในปัจจุบัน สิ่งที่เราเคยเชื่อหรืออุดมการณ์บางอย่างอาจจะเป็นเหตุผลที่ไม่เข้าท่า ความสําเร็จเดิมๆอาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกแล้ว
สิ่งที่เราเคยคิดถูกพอมาวันนี้เราอาจจะคิดผิดไป ซึ่งหากเรายังยึดติดกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแบบนี้ ปิดกั้นสิ่งใหม่ๆและไม่ยอมรับว่าสิ่งที่ตัวเองเคยคิดเคยเชื่อมันใช้ไม่ได้อีกแล้ว มันจะทําให้เรานั้นไม่เกิดการพัฒนาเติบโต ปิดกั้นปัญญาใหม่ๆและอาจจะสร้างความล้มเหลวให้กับเราไปเลยก็ได้
แต่ปัญหาก็คือ คนที่รู้มาก เก่งมาก ฉลาดมาก หรือคนที่ทําตัวเป็นผู้รู้ ทําตัวเป็นผู้ฉลาด มักจะไม่ยอมรับว่าตัวเองคิดผิด ไม่รับรู้อะไรที่แตกต่างจากความคิดของตัวเองและที่แย่ไปกว่านั้นพวกเขาเชื่อว่าสิ่งที่ตัวเองคิดและเชื่ออยู่มันถูกต้องที่สุดแล้ว จนทําให้เกิดเป็นปัญหาต่างๆตามมาในภายหลัง
Think Gain คิดแล้วคิดอีก หนังสือน่าอ่านจาก Adam Grand จะช่วยให้เราไม่ตกไปอยู่ในหลุมพังเหล่านี้ หลุมพังที่คิดว่าตัวเองถูกเสมอ หลุมพังที่คิดว่าตัวเองถูกต้องที่สุด หลุมพรางที่เป็นอุดมการณ์ที่เราเชื่อต่อๆกันมา
หากเราอยากพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น อยากพัฒนาตนเองให้เก่งและฉลาดขึ้น สิ่งที่เราควรทํานั้นก็คืออย่าได้มีกรอบความคิดที่ปิดกั้นตัวเองจากการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ขัดต่อความคิดหรือความเชื่อของเราก็ตามที
Think Gain จะช่วยให้เรากล้าที่จะตั้งคําถามกับสิ่งที่เราคิดว่าถูกต้องและกล้าที่จะละทิ้งความรู้ความเชื่อเดิมๆ หากเราพิสูจน์ได้ว่ามันกลายเป็นสิ่งที่ผิดไป Think Gain จะฝึกให้เราได้มีทักษะของการคิดทบทวนคิดอีกครั้งก่อนที่เราจะคิดแบบเก่าๆ เชื่อตามคนอื่นเขาหรือยึดติดกับความรู้ที่เรามี
สิ่งที่เราควรทําคือการฝึกฝนให้ตัวเองมีกรอบความคิดแบบเปิดกว้าง เพราะโดยทั่วไปแล้วเวลาคนเราพบเจอใครที่เห็นต่าง เห็นแย้ง เห็นไม่ตรงกันกับเราหรือมีข้อมูลหลักฐานบางอย่างที่ขัดต่อความเชื่อที่เราเคยมี ขัดต่อประสบการณ์ความเคยชินที่เราเคยเจอ เรามักจะยึดติดอยู่กับกรอบความคิดที่ปิดกั้นทางปัญญาและยึดถือแต่สิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้องเสมอ
ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อเราเจอสถานการณ์แบบนี้เรามักจะมีกรอบความคิดแบบปิดที่หนังสือThink Againได้แบ่งกรอบความคิดแบบปิดออกเป็นสามแบบ ได้แก่
- กรอบความคิดแบบนักเทศน์ เราจะสวมบทเป็นนักเทศน์เมื่อความเชื่อของเราถูกหักล้าง เราจะพยายามพร่ําบอกพร่ําสอนคนอื่นเพื่อปกป้องและส่งเสริมอุดมการณ์ของตัวเอง
- กรอบความคิดแบบอัยการ เราสวมบทเป็นอัยการ เมื่อเราเล็งเห็นข้อบกพร่องในเหตุผลของคนอื่น โดยเราจะรวบรวมหาข้อโต้แย้งมาสารพัด เพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขานั้นเป็นฝ่ายคิดผิดและทําให้ตัวเราเองเป็นฝ่ายชนะ
- กรอบความคิดแบบนักการเมือง เราสวมบทเป็นนักการเมืองเมื่อเราพยายามเอาชนะใจผู้ฟัง โดยเราจะพยายามรณรงค์หาเสียงและวิ่งเต้นให้เราได้รับการยอมรับจากผู้ลงคะแนนเสียงที่เข้าข้างเรา
ถ้าหากเรามีกรอบความคิดทั้งสามแบบนี้ เราจะกลายเป็นคนที่หมกมุ่นอยู่กับการเทศนาว่าตัวเองนั้นถูกต้องอยู่เสมอ เราจะโต้แย้งคนอื่นว่าผิดและเล่นเกมการเมืองเพื่อหาเสียงสนับสนุนเราเข้าข้างเราจนเราไม่ยอมคิดทบทวนมุมมองของตัวเราเอง
กรอบความคิดเหล่านี้จะปิดหูปิดตาเรา ปิดกั้นความคิดเห็นที่แตกต่าง ปิดกั้นไม่ให้เรามองตามความเป็นจริงที่เป็นอยู่ แต่ถึงแบบนั้นเราสามารถฝึกฝนให้ตัวเองสามารถเอาชนะการมีกรอบความคิดแบบปิดนี้ได้ โดยการมีกรอบความคิดที่เปิดกว้าง :: สิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์
หนังสือ Think Gain ชวนให้เราได้ลองมีกรอบความคิดแบบนักวิทยาศาสตร์
การคิดแบบนักวิทยาศาสตร์เป็นกรอบความคิดที่เปิดกว้างพร้อมทําให้ตัวเรานั้นเป็นนักเรียนรู้อยู่เสมอ โดยพื้นฐานนิสัยของนักวิทยาศาสตร์ พวกเขาจะไม่ยึดติดกับความคิดใด ความคิดหนึ่ง แม้แต่ความคิดที่พวกเขาคิดว่ามันถูกต้อง พวกเขากล้ายอมรับความผิดพลาด พวกเขาจะคอยตั้งคําถามและทบทวนสิ่งที่พวกเขาเชื่อ พวกเขารับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง พร้อมเปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนเอง หากมีหลักฐานใหม่ๆมาหักล้างความเชื่อเดิมๆที่มีอยู่และพวกเขาเปิดใจสนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ตลอดเวลา
การคิดเหมือนนักวิทยาศาสตร์เป็นการแสวงหาเหตุผลว่าทําไมเราอาจจะคิดผิด ไม่ใช่การแสวงหาเหตุผลว่าทําไมเราถึงคิดถูกเท่านั้น ซึ่งหัวใจสําคัญของกรอบความคิดนี้ก็คือ เมื่อเราคิด เราเชื่ออะไร ก่อนจะตัดสินใจนําไปใช้หรือลงมือทําอะไรก็ตาม ให้เราคิดทบทวนได้ว่า สิ่งที่เราคิดที่เราเชื่อนั้นมันคือสิ่งที่ดีและถูกต้องจริงๆแล้วใช่หรือไม่ มันเหมาะสมกับสถานการณ์ตรงหน้าหรือไม่ มันจะส่งผลกระทบอะไรออกไปบ้าง
ดังนั้นการใช้ชีวิตประจําวันของเรา หากอยากให้ตัวเรานั้นเกิดการพัฒนาให้เป็นในแบบที่ดีขึ้น เราควรฝึกฝนการมีทักษะของการคิดทบทวน มีกรอบความคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ที่เปิดกว้างทางความคิดพร้อมเรียนรู้อยู่เสมอ ฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง พร้อมเปลี่ยนความคิดความเชื่อ หากมีหลักฐานใหม่ๆมาหักล้างความเชื่อเดิมๆ ไม่ยึดติดกับความคิดใด ความคิดหนึ่งแม้แต่ความคิดที่เราคิดว่ามันถูกต้อง กล้ายอมรับความผิดพลาดคอยตั้งคําถามและทบทวนสิ่งที่เชื่ออยู่เสมอ
อย่าด่วนสรุปเรื่องราวต่างๆบนความเคยชินหรือประสบการณ์ที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันหากเราอยากให้ใครสักคนหรือคนที่อยู่ข้างๆเรา อยากช่วยให้เขาได้มีทักษะของการคิดทบทวนที่ดี เริ่มแรกอย่าไปเทศนาว่าตัวเราเองนั้นถูกต้องอยู่เสมอ อย่ายัดเยียดเหตุผลของตัวเองและโต้แย้งคนอื่นว่าผิด ใจเย็นเข้าไว้ มองหาจุดยืนที่มีอยู่ร่วมกัน เคารพอีกฝ่าย รับฟังเขาอย่างจริงใจ ใส่ใจในสิ่งที่เขาเชื่อ และให้อิสระกับเขา ที่เขาจะสามารถเลือกตัดสินใจและคิดทบทวนได้เอง
Think Again จะฝึกให้เราเป็นคนที่มีความถ่อมตัว แต่ขณะเดียวกันก็ฝึกให้เรามั่นใจและกล้าตั้งคําถามกับสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง ฝึกให้เราทําตัวเป็นนักเรียนรู้ตลอดเวลา ความรู้ใหม่ๆมีอยู่ทุกที่ ความรู้ใหม่ใหม่มีอยู่กับทุกๆคนและเมื่อเราได้มีทักษะของการคิดทบทวนแล้ว สําหรับบางเรื่องที่เราเคยคิด เคยเชื่อ เคยรู้ เราอาจจะพบว่าเราคิดผิดมาตลอดแต่การยอมรับว่าตัวเองคิดผิดนั้น ไม่ได้ทําให้เราดูแย่ลง แต่คือความซื่อสัตย์และความเต็มใจที่จะเรียนรู้
สนับสนุนโดย :: baccaratnine